วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

หัวใจชายหนุ่ม

                                                       ประวัติผู้แต่ง
                   
             พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่6   แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา  15  ปีที่พระองค์ทรงครองราชย์     ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศและโดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์  พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท เช่น  บทละคร    บทความ    สารคดี นิทาน  นิยาย  เรื่องสั้น  พระบรมราโชวาท พระราชหัตถเลขาและทรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
                     บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ  เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว  มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์ พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า   “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน พ.ศ.2515 พระองค์ยังได้ทรงรับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ทรงเป็น 1 ใน 5 ข
องนักปราชญ์ไทย

ที่มาของเรื่อง

                    หัวใจชายหนุ่ม    เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยใช้พระนามแฝงว่า   รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน
                    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมของไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม(นักเรียนนอก) ในรูปแบบจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อประเสริฐ สุวัฒน์ โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนำนวนิยายเรื่องนี้

     
               




                                                   

                ลักษณะคำประพันธ์                     หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้ง 18 ฉบับในเรื่อง ดังนี้

                    ๑) หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 256- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.256- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ. ไว้
                    ๒) คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก
                    ๓) คำลงท้าย จะใช้คำว่า จากเพื่อน..... แต่เพื่อน.....แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง(ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
                    ๔) การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ บริบาลบรมศักดิ์โดยตลอด แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ ประพันธ์
                  

                    ๕) ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์  
จุดมุ่งหมาย

.เพื่อให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชายหนุ่มไทย
.แสดงให้เห็นวิธีเขียนจดหมายที่ถูกต้อง
.สื่อถึงพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต
.รับรู้การแต่งบทประพันธ์ที่ถูกต้องและถูกต้องตามหลักการ
.สื่อการแต่งงานแบบคลุมถุงชนในอดีต
.สื่อถึงประเพณีการแต่งงานกับชาวต่างชาติว่าแตกต่างกับคนไทยอย่างไร

.สื่อถึงชายหนุ่มที่เมื่อไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเป็นเวลานานอาจแสดงพฤติกรรมของวัฒนธรรมตะวันตกแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถลืมวัฒนธรรมของถิ่นกำเนิดตัวเองได้
เนื้อเรื่องย่อ
                     
                     นายประพันธ์   ประยูรสิริ  เป็นหนุ่มไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ  เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ขณะเดิน  ที่ทางกลับก็เขียนจดหมายถึงเพื่อนชื่อ   นาย ประเสริฐ  สุวัฒน์   ที่ยังคงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ  เขียนเล่าเรื่องราวเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยแล้ว  โดยผ่านจดหมาย ๑๘ ฉบับ  ด้วยการระบายความรู้สึกที่คิดถึงประเทศอังกฤษและคนรักชาวอังกฤษ
                      การเดินทางกลับเมืองไทยในครั้งนี้    ประพันธ์ต้องเข้ารับราชการด้วยการฝากเช้าตามเส้นสายซึ่งเข้าไม่ชอบ  แต่เขาก็ไม่สามารถหางานทำเองได้   และพ่อได้เตรียมหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ชื่อ   แม่กิมเน้ย    ซึ่งประพันธ์ไม่ประทับใจ   ด้วยเห็นว่าแม่กิมเน้ยหน้าตาเหมือนชุนฮูหยิน สวมเครื่องประดับมากเกินไป   ดูพะรุงพะรังราวต้นคริสต์มาส  และที่สำคัญประพันธ์ไม่ชอบการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
                        ประพันธ์ไม่มีความสุขเพราะไม่มีสถานเริงรมย์ให้เลือกเที่ยวมากมายเหมือนที่อังกฤษ แต่เขาเริ่มมีความสุขความเพลิดเพลินขึ้นมาอีกครั้งเมื่อได้รู้จักกับหญิงสาวชื่อ  อุไร สาวงามที่มีความทันสมัยไม่ต่างจากสาวฝรั่ง
                         ประพันธ์และอุไรคบหากันอย่างสนิทสนมและออกเที่ยวเตร่ด้วยกันจนทำให้อุไรเกิดตั้งครรภ์และพ่อต้องจัดการแต่งงานทั้งๆที่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก   หลังแต่งงานอุไรยังชอบเที่ยวเตร่ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยจนทั้งสองมีปากเสียงกัน    ทำให้อุไรหันไปคบกับชายคนใหม่ชื่อ  พระยาตระเวนนคร  ทั้งๆที่เขามีภรรยาแล้วถุง 7 คน  ในที่สุดประพันธ์และอุไรจึงหย่าขาดกัน

                          ต่อมาประพันธ์ได้พบกับหญิงสาวที่ชื่อ ศรีสมาน ละรู้สึกพึงพอใจในตัวเธอมาก   ทั้งนี้ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายก็ชอบพอกัน  ประพันธ์จึงหวังว่าจะได้แต่งงานครองคู่อยู่กับศรีสมานอย่างมีความสุขยั่งยืนในอนาคต

ข้อคิดที่ได้รับ 

    ๑.พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น
    ๒. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ

    ๓.การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย
คำศัพท์
ความหมาย
.กรมท่าซ้าย
กรมท่า หมายถึง  ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งสังกัดกรมพระคลัง  มีหน้าที่เกี่ยวกับต่างประเทศและปกครองเมืองท่า 
.ครึ
เก่า     ล้าสมัย
.คลุมถุงชน
ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน
.เดินเข้าท้ายครัว
สำนวนว่า เข้าท้ายครัว โดยทั่วไปหมายความว่า เข้าทางภรรยา ในที่นี้หมายถึงใช้ความ รู้จักคุ้นเคยเป็นการส่วนตัวเป็นเครื่องให้ได้งานทำ
.เรี่ยม
สะอาดหมดจน เอี่ยมอ่อง วิเศษ  ดีเยี่ยม
.หมอบราบ
ยอมราบโดยไม่ขัดขืน
.หอยจุ๊บแจง
ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยว เปลือกผิวขรุขระ รูปร่างค่อนข้างยาง ปลายแหลม สีเทาอมดำ หอยจุ๊บแจงจะอ้าฝาเปิดปากในน้ำนิ่ง แต่เมื่อสิ่งใดมากระทบ ก็จะปิดฝาหอยซ่นตัวทันที ในที่นี้หมายถึง ผู้หญิงที่ขี้อาย ไม่เข้าสังคม
.หัวเมือง
ต่างจังหวัด
.หัวนอก
คนที่นิยมแบบฝรั่ง   มีความคิดแบบฝรั่ง
๑๐.หลวง
บรรดาศักดิ์ข้าราชการที่สูงกว่าขุนและต่ำกว่าพระ